Land of multiculturalism

Land of multiculturalism

สตูล  เป็นจังหวัดสุดเขตชายแดนใต้ ทางฝั่งทะเลอันดามัน  ที่มีความ ปลอดภัย ปราศจากเงื่อนไขความรุนแรง ด้วยวิถีชีวิตของผู้คนที่ได้รับการปกป้องบนพื้นฐาน สังคมพหุวัฒนธรรม  และทุกคนมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืน

“Satun” is the southern border province of Thailand on the Andaman coast. This province is safe and free from violent conditions. Their lives way is protected on the basis of a multicultural society. Everyone is involved in the process of creating lasting peace.

 

สตูล อเมซิ่งไทยแลนด์  “ดินแดนอัศจรรย์” สวรรค์นักเดินทาง ทริปแห่งความสนุกสุขสันต์ ตื่นตาเร้าใจ ในดินแดนเดอะแลนด์อ๊อฟฮาโมนี  ดินแดนแห่งมิตรภาพไมตรี และความผสานกลมเกลียว

Satun Miracle Thailand, The Land of Harmony

Satun Amazing Thailand “The Land of Miracle” Traveler’s paradise, A fun and exciting trip In The Land of Harmony, the land of friendship and harmony.

Satun Miracle Thailand, The Land of Harmony

 

 

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล (คฤหาสน์กูเด็น)

ศิลปะ วัฒนธรรม แหล่งมรดก และสถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา

สร้างเมื่อพุทธศักราช 2441 แล้วเสร็จในปี พุทธศักราช 2459 โดยพระยาภูมินารถภักดี หรือตวนกูบาฮารุดดิน บินตำมะหงง (ชื่อเดิม กูเด็น บินกูแม๊ะ) เจ้าเมืองสตูลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คฤหาสน์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 5 คราวเสด็จปักษ์ใต้ แต่ไม่ได้ประทับแรม เคยใช้เป็นบ้านพักและศาลาว่าการเมืองสตูล และเป็นสถานที่สำคัญทางราชการ ต่อมาในปี พุทธศักราช  2540-2543 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ และดำเนินการปรับปรุงอาคารเพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมือง รูปแบบอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้นเป็นตึกแบบตะวันตก ประตูหน้าต่างรูปโค้งตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรปหลังคาทรงปั้นหยาแบบไทย ใช้กระเบื้องดินเผารูปกาบกล้วย บานหน้าต่างเป็นแผ่นไม้ชิ้นเล็ก ๆ เป็นเกล็ดแนวนอน ช่องลมด้านบนตกแต่งรูปดาวตามลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอิสลาม

Satun National Museum (Kuden Mansion)

Art, Culture, Heritage, and Architecture, where is the  Museum for Education.

It was built in 1898 and completed in 1916 by Phraya Phuminat Phakdi or Tuan Ku Ba Haruddin Bin Tammahong (formerly known as Kuden Bin Kuma), the governor of Satun during the reign of King Chulalongkorn. This mansion was built as a residence for King Rama V during his visit to the South, but he did not stay overnight. It was once used as a residence and Satun City Hall, and is an important government site. Later, in 1997-2000, the Fine Arts Department announced it as a national historic site and proceeded with the renovation of the building to be used as the city’s national museum. The building is a two-story brick and mortar building in Western style. The doors and windows are curved in European architectural style. The roof is a Thai hip roof. It uses terracotta tiles in the shape of banana leaves. The windows are small wooden panels in horizontal scales. The upper vents are decorated in the shape of stars, in line with Islamic architectural style.

 

 

ภายในจัดแสดงประวัติศาสตร์เมืองสตูล วิถีชีวิตของชาวสตูลในด้านต่าง ๆ เช่น ชีวิตชาวเลเกาะหลีเป๊ะ การปั้นหม้อ ห้องบ้านเจ้าเมืองสตูล ห้องวัฒนธรรมชาวไทยมุสลิม ให้ความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น 

เปิดให้เข้าชม ทุกวันพุธ-อาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น. (ปิดวันจันทร์ วันอังคาร และวันนักขัตฤกษ์) ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท

สอบถามข้อมูล โทร. 0 7472 3140

Inside, the exhibition showcases the history of Satun, the way of life of Satun people in various aspects, such as the sea people’s life of Koh Lipe, pottery making, the Satun City Lord’s House Room, the Thai Muslim Culture Room, providing knowledge about the arts, culture, traditions, and the way of life of local people.

Opened every Wednesday-Sunday from 9:00 a.m. to 4:00 p.m. (Closed on Mondays, Tuesdays, and public holidays). Admission fee: Thais 10 baht, foreigners 50 baht.

For more information, call 0 7472 3140.

วัดชนาธิปเฉลิม หรือวัดมำบัง ถือเป็นวัดแห่งแรกของเมืองสตูล

สร้างเมื่อพุทธศักราช 2425 เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดชนาธิปเฉลิม” เมื่อพุทธศักราช 2482 ขณะที่ชาวเมืองสตูลส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม วัดแห่งนี้จึงถือเป็นที่รวมน้ำใจของชาวพุทธในเมืองสตูลมาร่วม 100 กว่าปีมาแล้ว

Wat Chanathipchaloem or Wat Mambang is considered the first temple in Satun. It was built in 1882 and its name was changed to “Wat Chanathipchaloem” in 1939. As most of Satun’s people are Muslims, this temple has been a place of unity for Buddhists in Satun for over 100 years.

 

อุโบสถที่มีลักษณะแปลกไปจากพระอุโบสถโดยทั่วไป คือ อุโบสถวัดชนาธิปเฉลิม มีลักษณะ เป็นทรง 2 ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ส่วนชั้นบนเป็นอาคารไม้ ด้านหน้าพระอุโบสถเป็นระเบียง มีบันไดทั้ง 2 ด้าน

พุทธศักราช 2473 สร้างพระอุโบสถ ชั้นบนสำหรับประกอบพิธีกรรมของพระสงฆ์ ส่วนชั้นล่างใช้เป็นศาลาการเปรียญ ปัจจุบันได้บูรณปฏิสังขรณ์แล้ว สภาพเดิมที่ยังคงเหลืออยู่ คือ โครงสร้างของพระอุโบสถ และเสาบานหน้าต่างซึ่งแกะสลักรูปเครือเถา

วัดชนาธิปเฉลิมเป็นวัดที่หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดสตูลร่วมกับศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสตูล โรงเรียนสตูลวิทยา ประกาศเป็นเขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  มีลำคลอง 3 สาย ล้อมรอบ คือ คลองมำบัง คลองเส็นเต็น และคลองตายาย

The chapel that is different from other chapels. The chapel of Wat Chanathipchalem is a two-storey chapel with a brick and mortar lower floor and a wooden building on the upper floor. In front of the chapel is a balcony with stairs on both sides. In 1930, the chapel was built with the upper floor for monks to perform ceremonies while the lower floor is used as a Sermon Hall. It has now been renovated. The original structures that still remain are the chapel structure and the window frames carved as vines.

Wat Chanathipchalem is a temple that the Satun Provincial Local Art Environmental Conservation Unit, gathering with the Satun Provincial Cultural Center, and Satun Witthaya School, announced as an environmental conservation area. It is surrounded by three canals; Khlong Mambang, Khlong Sen Ten, and Khlong Ta Yai.

 

 

 มัสยิดกลางจังหวัดสตูล หรือมัสยิดมำบัง

เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตนกูมูฮำหมัดอาเก็ม) เป็นเจ้าเมืองสตูล (ประมาณ พุทธศักราช  2539) ชื่อ “มำบัง” ตั้งตามชื่อเมืองสตูลในสมัยนั้น

ต่อมาในปี พุทธศักราช  2517 ได้สร้างมัสยิดซึ่งมีรูปทรงแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ตัวอาคารสีขาวตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบหินอ่อนและกระจกใส อาคารแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนนอกเป็นระเบียง มีบันไดขึ้นหอคอย ลักษณะเป็นยอดโดม สามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองสตูลได้ ส่วนในเป็นห้องโถงใหญ่ใช้เป็นที่ละหมาด ชั้นล่างมีห้องใต้ดินที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เสด็จฯ มาทรงเปิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2525

Satun Central Mosque or Mambang Mosque.

It is a place for religious ceremonies that was built during the era of Phraya Samantarataburin (Tonku Muhammad Akem) who was the governor of Satun (around 1996). The name “Mambang” was given following the name of Satun at that time.

Later in 1974, a mosque was built in a modern architectural style. The white building was decorated with marble tiles and clear glass divided into two parts: the outer part is a balcony with a staircase leading up to a dome-shaped tower from which a view of Satun can be seen. The inner part is a large hall used for prayers. On the lower floor, there is a basement which His Majesty King Bhumibol Adulyadej the Great, Rama IX, came to open on 20 September 1982.

 

ศาลเจ้าโป้เจ้งเก้ง

           ศาลเจ้าที่มีอายุเก่าแก่กว่า 130 ปี ตั้งอยู่ถนนสมันตประดิษฐ์ ศาลเจ้าฯเป็นอาคารที่ได้รับการบริจาคที่ดินจาก นายลีกาฮ้วด เมื่อพุทธศักราช 2433 ซึ่งเมื่อสร้างอาคารเสร็จ ได้อัญเชิญพระโปเซ็งไต่เต่ หรือ (ไต่เต่เอี้ยจ้อ) จากเกาะปีนัง มาประดิษฐาน เป็นองค์ประธาน ศาลเจ้าโป้เจ้เก้ง เป็นภาษาฮกเกี้ยน แปลว่า “ศาลเจ้าที่ช่วยคุ้มครอง ให้คนมีสุข คลาดแคล้วจากทุกข์”

 ศาลเจ้าโป้เจ้งเก้ง

           ศาลเจ้าที่มีอายุเก่าแก่กว่า 130 ปี ตั้งอยู่ถนนสมันตประดิษฐ์ ศาลเจ้าฯเป็นอาคารที่ได้รับการบริจาคที่ดินจาก นายลีกาฮ้วด เมื่อพุทธศักราช 2433 ซึ่งเมื่อสร้างอาคารเสร็จ ได้อัญเชิญพระโปเซ็งไต่เต่ หรือ (ไต่เต่เอี้ยจ้อ) จากเกาะปีนัง มาประดิษฐาน เป็นองค์ประธาน ศาลเจ้าโป้เจ้เก้ง เป็นภาษาฮกเกี้ยน แปลว่า “ศาลเจ้าที่ช่วยคุ้มครอง ให้คนมีสุข คลาดแคล้วจากทุกข์”

Po Che Keng Shrine

This shrine is over 130 years and is located on Samantha Pradit Road. The shrine was donated by Mr. Liga Huad in 1890. When the building was completed, the statue of Po Seng Tai Te or (Tai Te Eia Jor) was brought from Penang Island to be enshrined as the main deity. In Hokkien, Po Che Keng Shrine means “a shrine that protects people and keeps them happy and free from suffering.”

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *