เมืองตรังวันวาน [Historical of Trang]

ประวัติศาสตร์เมืองตรัง


[Historical Background of Trang]

 Logo_Trang

ตรัง ค-ปุระ เป็นคำสันสกฤต แปลว่า  การวิ่งห้อของม้า หรือคลื่นเคลื่อนตัว ชื่อเมือง 12

นักษัตรนั้นคือชื่อเมืองป้อมปราการล้อมรอบเมืองนครศรีธรรมราช เมืองตรัง ค- ปุระ เป็นเมืองที่มีฐานทัพเรือ จึงให้ใช้ตราม้า

Trangapura is in Sanskrit referring to the full gallop of a horse or the moving waves. The names of

the cities surrounding Nakhon Si Thammarat were from the names of 12 Zodiac Signs where

Trangapura was the city with nave base that used the sign of horse.

ตรังค์

แปลว่า “ลูกคลื่น” เพราะลักษณะพื้นที่ของเมืองตรังตอนเหนือเป็นเนินเล็กๆ สูงๆ ต่ำๆ คล้ายลูกคลื่นอยู่ทั่วไป

Trang meant small waves due to the wavy landscape in its north areas.

ตรังเค [TARANGUE]

ซึ่งเป็นภาษามลายู แปลว่า “รุ่งอรุณ” หรือ “สว่างแล้ว” สันนิษฐานว่าคงมีชาวมลายูและชาวต่างชาติ จีน อินเดีย เปอร์เซีย

เดินทางมาค้าขายละแวกนี้ เมื่อเรือแล่นมาถึงปากอ่าวแม่น้ำตรัง เป็นเวลารุ่งอรุณพอดี

Tarangue is a Melayu language meaning dawn or morning. It was presumed that Melayu people and

people from other countries such as China, India, and Persia came on trading in this region and

arrived the estuary of Trang River exactly at dawn.

ตรัง

จังหวัดตรัง เท่าที่ทราบและปรากฏหลักฐาน ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่ก็มีหลักฐานบางอย่างที่เชื่อได้ว่า ”ตรัง“

เป็นชุมชนที่มีคนเคยอยู่มาก่อนหน้านั้น ซึ่งสามารถลำดับเหตุการณ์ เป็นช่วงสมัย *ชุมชนตรังในช่วงสมัยหินใหม่

*ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย *เมืองตรังสมัยอาณาจักรศรีธรรมาโศกราช *เมืองตรังสมัยกรุงศรีอยุธยา

*เมืองตรังสมัยกรุงธนบุรี *เมืองตรังช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น *เมืองตรังสมัยสมเด็จเจ้าพระยามหาสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค)

*เมืองตรังสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) *เมืองตรังช่วงหลังพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี

(คอซิมบี๊ ณ ระนอง)

Trang Province

Regarding to the discovered evidences, Trang can be dated back to Ayutthaya Period. However,

some evidences made belief that Trang was a community lived before that era. Trang can be sorted

out by time: Neolithic Age, prehistoric of Siam, Sri Thamma Sokkaraj Period, Ayutthaya Period,

Thonburi Period, Early Rattanakosin Period, Phraya Mahasuriyawond periodj (Chuang Boonnak), and

Phraya Ratsadanupradit period (Korsimby Na Ranong).

#ชุมชนเมืองตรังในช่วงสมัยหินใหม่

*จากการสำรวจหลักฐานแสดงให้เห็นว่าชุมชนตรังได้มีมาแล้ว ในช่วงสมัยหินใหม่ เนื่องจากได้พบร่องรอยมนุษย์ ในช่วงหินใหม่

กระจัดกระจายในทุกท้องที่ เช่น พบภาชนะ หม้อสามขา และ ขวานหินขัด ที่แถบเขาสามบาตร ตำบลนาตาล่วง

พบซากโครงกระดูกมนุษย์ที่ถ้ำเขาพระ อำเภอห้วยยอด การพบหม้อกุณฑี ลักษณะเดียวกับพบที่ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

และลูกปัดคล้ายคลึงกับพบที่ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ที่เขาโต๊ะแหนะ หาดเจ้าไหม อำเภอกันตัง สิ่งเหล่านี้

ล้วนเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า จังหวัดตรัง มีชุมชนมาแล้วไม่น้อยกว่า 2000 ปี

ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์

Trang During Neolithic Age

In following to the discovered evidences that convinced the exist of Trang community since Neolithic

Age. Traces of human in Neolithic Age were found in many areas. Utensils, trivet pots, and polished

axes were found around Mount Sam Bart in Tambon Na Ta Luang. Human skeletons were found in

Tham Khao Phra in Huaiyod District. Pitchers of similar kind that were found in Sathing Phra district

of Songkhla, beads of similar discovery in Khlong Thaom district of Krabi, Mount Tohnae, Chao Mai

Beach in Kantang district of Trang are the evidences to prove that Trang has been a community not

less than 2,000 years ago.

ประวัติศาสตร์ ตรัง
เมืองตะโกลา

ในจดหมายเหตุของปโตเลมี ที่ได้บันทึกตามคำบอกเล่าของนักเดินเรือชาวกรีกชื่อ อเล็กซานเดอร์

เดินทางเข้ามาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 74 กล่าวถึงเมือง “ตะโกลา” ไว้ว่าเป็นเมืองท่าของสุวรรณภูมิ หรือไครเสาเซอร์โสเนโสส

และเมือง “ตะโกลา” ยังปรากฏอยู่ในหนังสือมิลินท-ปัญญา เขียนขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 5 เรียกเมืองนี้ว่า ตกโกล นอกจากนี้

จารึกของพวกตนโจร (พวกทมิฬ ที่อยู่ทางใต้ของอินเดีย) ในสมัยพระเจ้าราเชนทรที่ 1 เป็นกษัตริย์ของโจฬะ [ประมาณ ปี พ.ศ.

1555-1585] ได้กล่าวถึงเมือง ตไลตตกโกล นักโบราณคดีต่างๆ มีความเห็นว่าเมืองตะโกลา, ตกโกล และ ตไลตตกโกล คือ

เมืองเดียวกัน เมืองตะโกลาที่กล่าวข้างต้น น่าจะเป็นท้องที่บริเวณจังหวัดตรังและจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะ อำเภอคลองท่อม

จังหวัดกระบี่ ในปัจจุบัน โดยมีหลักฐานที่สนับสนุนในเรื่องนี้คือ

* ข้อเขียนของเลอเมย์ผู้เขียนวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์เขียนถึง ตะโกลาไว้ดังนี้

สถานที่แห่งนี้อาจหมายถึงเมืองตรัง เพราะท้องที่เมืองตรังเขตอำเภอปะเหลียน และอำเภอกันตัง

มีอาณาเขตตกทะเลหน้านอกในมหาสมุทรอินเดีย เป็นที่จอดเรือได้ดี

* จดหมายเหตุของปตาเลมี เขียนถึงตะโกลาไว้ดังนี้ เมื่อพ้นประเทศอาจิราเลียบฝั่งลงไปเรื่อยๆ ถึงแหลมเบซิงงาในอ่าวซาราแบก

(เขตจังหวัดพังงาปัจจุบัน) เมื่อพ้นจากนั้นก็เข้าเขตที่อเล็กซานเดอร์นักเดินเรือชาวกรีกเรียกว่า

เมืองทองแล้วก็จะถึงเมืองตะโกลา…..ใต้เมืองพังงาลงมาที่เป็นเมืองท่าสำคัญเห็นจะมีแต่เมืองตรังเท่านั้น ที่เป็นเมืองท่าเรือ

* ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ การเดินเรือในเขตมรสุม ถ้าจะเดินทางจากลังกา หรืออินเดียตอนใต้ มายังสุวรรณภูมิ

เมื่อตั้งหางเสือของเรือแล้วแล่นตัดตรงมา อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะนำเรือเข้าฝั่งสุวรรณภูมิบริเวณเส้นละติจูดที่ ๗๗

องศาเหนือ ซึ่งจะตรงกับจังหวัดตรังพอดี หาก “ตะโกลา” เป็นเมืองท่าของสุวรรณภูมิ (ตามจดหมายเหตุของปตาเลมี) “ตะโกลา”

ก็คือชุมชนในเขตเมืองตรัง นั้นเอง

* ตามลักษณะภูมิศาสตร์ กล่าวถึง เส้นทางการติดต่อค้าขายข้ามแหลมทองระหว่างฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก นั้น

จะมีการขนถ่ายสินค้า จากเมืองตะโกลาไปยังฝั่งทะเลทางอ่าวไทย เส้นทางนี้หากจะพิจารณาว่าเป็นเส้นทางจากตะกั่วป่า

ไปยังสุราษฎร์ธานี ก็คงไม่ใช้เพราะเส้นทางจากตะกั่วป่าไปยังจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต้องข้ามเขาสก จึงเป็นภูเขาสูงเป็นพันฟุต

ทางข้ามเขาสกนั้น ไม่ใช้เส้นทางขนถ่ายสินค้าข้ามปลายแหลมทอง แต่เป็นเส้นทางลัดข้ามแดนเท่านั้น เมื่อตะโกลา

เป็นเมืองยุคก่อนประวัติศาสตร์ไทย หากเชื่อว่าชุมชนในเขตเมืองตรัง คือ

เมืองตะโกลาก็จะสรุปได้ว่าเมืองตรังมีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ไทย

Takola

According to the chronicle of Ptolemy that recorded from the telling of Alexander, a Greek navigator,

who travelled in during B.E. 74 to “Takola” town where was a seaport of Suwannabhumi or

Chrisausonesos and it existed in Milinthapanya Book which was written up about in B.E. 5 in the

name of Tokkol. Moreover, a chronicle of Tamil said that in Chola Dynasty during the reign of King

Rajendra Chola I (approximately in B.E. 1555 – 1585), Talaitokkol was mentioned and many

archaeologists considered that Takkola, Tokkol, Talaittakkolam are the same town. The Takola

should be the locality in Trang Province and nearby provinces especially Khlong Thom District of

Krabi Province in the present. An outstanding evidence that support this belief is the essay of Le

Mere, the author of South East Asian Culture that wrote about Takola as follows.

*The place might refer to Trang because the localities of Trang in Palien District and Kantang District

border on the sea of India Ocean that is a good harbour.

* A chronicle of Ptolemy wrote about Takola that as passing Ajira and cruised along the shore to

Bezinga Cape in Sarabag Bay (Phang Nga province in the present). Then it was the place where

Alexander, a Greek navigator, called it Golden City before arriving Takola. On southward with a

significant port town was only Trang.

*By physical geography, the trading route of Golden Peninsular between the east coast and the west

coast was from Takola to the Gulf of Thailand. The route should not be from Takuapa of Phang Nga

Province to Suratthani Province because of Khao Sok where there are many high mountains. So it

was not the route to transfer goods, but only a short way to cross the land. As Takola existed since

before the history of Thailand, if Takola was a community in the vicinity of Trang then it can be

summarized that Trang has been a town since before the history of Thailand.

 

12321164_1550261028567967_2574141950947085555_n

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *